พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙,Ph.D)
ศาสตราจารย์,ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์,เจ้าคณะภาค ๒
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระเดชพระคุณ ศาสตราจารย์ ดร. พระธรรมโกศาจารย์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เจ้าคณะภาค ๒ เจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรุงเทพมหานคร และเป็นคณะเลขานุการประธานคณะผู้ปฎิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๗ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๙๘ จังหวัดสุพรรณบุรี และบรรพชาเป็นสามเณรมื่ออายุ ๑๒ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ขณะที่ยังเป็นสามเณร ท่านก็สำเร็จการศึกษาขั้นสูงสุดในด้านบาลีศึกษาของประเทศไทย คือเปรียญธรรมประโยค ๙ ในปีเดียวกัน ท่านก็อุปสมบทที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยพระบรมราชูปถัมภกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สองปีต่อมา ท่านได้รับปริญญาตรีพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาปรัชญา เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หลังจากนั้น ท่านได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเดลี ประเทศอินเดีย ได้รับประกาศนียบัตรภาษาฝรั่งเศส ปริญญาโททางอักษรศาสตร์และทางปรัชญา และปริญญาเอก ตามลำดับ วิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอกของท่านซึ่งเขียนเป็นภาษาอังกฤษและได้รับการตี พิมพ์ในชื่อเรื่องว่า "การไร้อัตตาในลัทธิสิ่งที่ดำรงอยู่ของซาตร์และในพุทธศาสนาดั้งเดิม" ได้รับความนิยมและพิมพ์ซ้ำอีกหลายครั้ง

หลังจากที่จบปริญญาเอก ท่านได้เป็นอาจารย์บรรยายที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระยะหนึ่ง ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ มหาเถรสมาคม อนุมัติให้ไปเป็นพระธรรมฑูต ประจำวัดธัมมาราม ชิคาโก สหรัฐอเมริกา และกลับมารับตำแหน่งผู้อำนวยการกองวิชาการ และเป็นคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยท่านแรก และได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจาก สมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ และในปีถัดมาก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะภาค ๒ รับผิดชอบเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดอยุธยา จังหวัดสระบุรี จังหวัดอ่างทอง

นอกจากงานปกครองคณะสงฆ์แล้ว ท่านยังเป็นพระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิชาการของประเทศไทยรูปหนึ่ง ได้นิพนธ์หนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญากว่า ๖๐ เล่ม งานพิมพ์ต่าง ๆ ของท่านทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งหนังสืออื่น ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ปรัชญากรีก พุทธวิธีสร้างสันติภาพ จริยธรรมชาวพุทธ โลกทัศน์ของชาวพุทธ และวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากล สหประชาชาติ

ท่านได้รับเชิญให้กล่าวบรรยายธรรมทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ และได้รับเชิญให้บรรยายธรรมเป็นประจำทุกปีทั่วประเทศและทั่วโลกตั้งแต่ ๒๐ ปีที่แล้วมา ซึ่งรวมทั้งการบรรยายธรรมเป็นชุดต่อเนื่องในสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นผู้แทนของประเทศไทยเสนอบทความทางวิชาการ ในที่ประชุมใหญ่ขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ที่กรุงเทพมหานคร และในที่ประชุมสัมมนาผู้นำทางศาสนาที่จัดเนื่องในการประชุมใหญ่ขององค์การสห ประชาชาติ ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ท่านได้รับเชิญไปบรรยายเรื่อง "พุทธทัศนะสลายความขัดแย้ง" ในการประชุมสุดยอดผู้นำทางศาสนาและจิตวิญญาณเพื่อสันติภาพโลก ณ องค์การสหประชาชาติ นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา สามเดือนต่อมาท่านได้บรรยายพิเศษเรื่อง "การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพของโลก" ในการประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งโลกครั้งที่ สอง ณ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย

ด้วยการเป็นที่ยอมรับในงานบทความด้านวิชาการและการสละอุทิศตน เพื่อสังคมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของท่าน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของประเทศไทยจึงพระราชทานตำแหน่งศาสตราจารย์สาขา ปรัชญาแก่ท่าน ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

ท่านได้เป็นประธานคณะกรรมการจัดงานในการประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธ เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งโลก ครั้งที่สอง เป็นเจ้าภาพร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและพุทธศาสนานิ กายเนนบุตสุชุของญี่ปุ่น การประชุมจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ ๙ - ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเทคนิคการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และเพื่อสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้นำชาวพุทธทั่วโลก และเพื่อเฉลิมฉลองมหามงคลสมัยในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของประเทศ ไทยครบรอบ ๗๒ พระชันษา

นอกจากนี้ ท่านยังเป็นประธานคณะกรรมการริเริ่มกอตั้งการจัดประชุมสภาผู้นำศาสนาแห่งโลก ณ พุทธมณฑล และ ยูเอ็นเอสแคป ระหว่างวันที่ ๑๒ -๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๕

สองปีต่อมา ท่านได้ทำหน้าที่เสมือนประธานคณะกรรมการจัดงานการประชุมสภาผู้นำศาสนาแห่ง โลก พร้อมกับการจัดการประชุมสุดยอดผู้นำเยาวนเพื่อสันติภาพแห่งโลก ณ พุทธมณฑล ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๗ และเป็นประธานคณะกรรมการจัดงาน การประชุมการทำงานร่วมกันชาวพุทธนานาชาติ ครั้งที่หนึ่ง หัวข้อ "เอกภาพและความร่วมมือของชาวพุทธ" ณ พุทธมณฑล และยูเอ็นเอสแคป กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ ๑๖-๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ และจากนั้นเป็นต้นมาก็เป็นแกนหลัก และประธานการจัดงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลกที่ประเทศไทย และเป็นประธานคณะกรมมการการจัดงานประชุมนานาชาติ วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่สอง และครั้งที่สาม อย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. ๒๕๔๘และ พ.ศ. ๒๕๔๙ ตามลำดับ

ท่านเป็นประธานคณะกรรมการการจัดงานการประชุมนานาชาติ ครั้งที่สี่ วันวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๖ -๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

เดิมท่านเป็นที่รู้จักกันในนามของพระมหาประยูร มีฤกษ์ พระเมธีธรรมาภรณ์ พระราชวรมุนี พระเทพโสภณ ด้วยการที่ท่านเป็นที่ยอมรับในเรื่องการสนับสนุนส่งเสริมต่าง ๆ แก่คณะสงฆ์และสังคมอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันท่านจึงได้รับพระบรมราชโองการ เลื่อนสมณศักดิ์ เป็น พระธรรมโกศาจารย์ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๕ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘