เกี่ยวกับ UNDV
การจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาของ การจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก
คณะกรรมการวิสาขบูชา นานาชาติ
International Council of the United Nations Day of Vesak
ผู้บริหาร สมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ
International Association of Buddhist Universities
สำนักงาน
สำนักงาน สสวล. / สมพน.
โครงการ
หลักการและเหตุผล
คำประกาศปฎิญญากรุงเทพมหานคร
เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก
 

ปาฐกถา เรื่อง :
การศึกษากับความเป็นพลเมืองโลก: มุมมองพระพุทธศาสนา
องค์ปาฐกถาพิเศษ
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ


ผู้ร่วมเสวนา
Venerable Professor Mahinda Deegalle
Most Ven. Bhikkuni SHI RURUI
Jack Miller
Jamie Cresswell

Moderators
Venerable Assoc. Prof. Phra Sigambhirayan, Ph.D.
Venerable Phra Khammai Dhammasami
การเสวนาทางวิชาการเรื่อง :
พระสงฆ์กับการส่งเสริมการศึกษาและคุณค่าความเป็นมนุษย์
ผู้ร่วมเสวนา
Venerable Ashin Nyanissara
Venerable Seck Kwang Phing
Venerable Phramaha Anilaman Dhammasakiyo, Ph.D
SUAH KIM (Bhikkhuni Soun )
Prof. Chandima Wijebandara

Moderators
Venerable Dr. Tampalawela Dhammaratana
Phra Rajavaramuni
 

สาส์นจาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม


สารจาก อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประธานสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ ประธานสมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙,Ph.D)
ศาสตราจารย์,ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์,เจ้าคณะภาค ๒
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


สารจากเลขาธิการสหประชาชาติ
บัน คิ-มูน


สารจากผู้อำนวยการทั่วไป องค์การร่วมมือทางการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมระหว่างประเทศ (ยูเนสโก้)
มิส ไอรีน่า โบโคว่า


สารจากประธานองคมนตรี แห่งราชอาณาจักรไทย
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
สารจากนายกรัฐมนตรี แห่งราชอาณาจักรไทย
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร


สารจากนายกรัฐมนตรีออสเตรีย
จูเลีย ไอลีน กิลลาร์ด


สารจากนายกรัฐมนตรีบังคลาเทศ
ชีค ฮาสินา


สารจากมหาเถรสมาคม


สารจากคณะรัฐมนตรี


สารจากสถานทูตและสถานกงสุลต่างประเทศในประเทศไทย


สารจากบุคคลสำคัญ


สารจากหน่วยงาน องค์กร ต่างๆ
 

องค์การสหประชาชาติ (UN)
Information
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)
พุทธมณฑล
โรงแรม & สิ่งอำนวยความสะดวก
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
(วัดพระแก้ว)
พระนครศรีอยุธยา เมืองมรดกโลก

ข่าวสารถึงอาสาสมัคร
เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก ๒๑ - ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๖
ตำแหน่งที่ต้องการ
Do you have what it takes to be a Vesak Day Celebration Volunteer?
ร่วมสมัครเป็นอาสาสมัคร
Once in a lifetime Opportunity
คำถาม คำตอบ
Frequently Asked Questions About Vesak Day Celebration Volunteer
นโยบายของอาสาสมัคร
Policy on volunteering
 

สัญญาณถ่ายทอดสด
เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก ๒๑ - ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๖
วิดิทัศน์
ภาพวิดิทัศน์เหตุการณ์สำคัญ
เอกสารเผยแพร่งาน
รวบรวมเอกสาร ประจำปี ๒๕๕๖
รูปภาพ
เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก ๒๑ - ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๖
ข้อมูลรูปภาพ
สำหรับนำไปทำสิ่งพิมพ์
หนังสือ
Download หนังสือเนื่องในวันวิสาขบูชาโลก
เพลง
นิทรรศการ
หลักการและเหตุผล
 


พระประวัติ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (สุวัฑฒนมหาเถระ เจริญ คชวัตร)
วีดีทัศน์เสนอพระประวัติ และงานฉลองพระชันษา
๒๕๕๖ ปีมหามงคล พระชันษาครบ ครบ ๑๐๐ ปี
วันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖
การเสวนาทางวิชาการเรื่อง :
พระสงฆ์กับการส่งเสริมการศึกษาและคุณค่าความเป็นมนุษย์
หนังสือและเอกสาร
๒๕๕๖ ปีมหามงคล พระชันษาครบ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖
 
เกี่ยวกับ UNDV

  เกี่ยวกับ UNDV
การจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาของ การจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก
คณะกรรมการวิสาขบูชา นานาชาติ
International Council of the United Nations Day of Vesak
ผู้บริหาร สมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ
International Association of Buddhist Universities
สำนักงาน
สำนักงาน สสวล. / สมพน.
โครงการ
หลักการและเหตุผล
คำประกาศปฎิญญากรุงเทพมหานคร
เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก
     


โครงการจัดกิจกรรมวิสาขบูชานานาชาติครั้งที่ ๑๐
เรื่อง “การศึกษากับความเป็นพลเมืองโลก: มุมมองพระพุทธศาสนา”
เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี ๒๕๕๖
ระหว่างวันที่ ๒๑ – ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖
ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร

ชื่อโครงการ

โครงการจัดกิจกรรมวิสาขบูชานานาชาติครั้งที่ ๑๐ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี ๒๕๕๖

ชื่อหน่วยงาน

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ผู้รับผิดชอบโครงการ

๓.๑ คณะกรรมการสมาคมสภาสากลวิสาขบูชาโลก มีหน้าที่ในการกำหนดกรอบทิศทางในการจัดงานวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก ประจำปี ๒๕๕๖
๓.๒ คณะกรรมการจัดงานจากประเทศไทย ซึ่งรัฐบาลแต่งตั้งจากผู้แทนคณะสงฆ์ ส่วนราชการ องค์กรเอกชน และอื่นๆ
๓.๓ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รับดำเนินการจัดกิจกรรมนานาชาติ
๓.๔ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย รับดำเนินการจัดกิจกรรม ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร และพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

โครงการเชื่อมโยงกับมาตรฐาน

สกอ. องค์ประกอบที่ ๕ การบริการวิชาการแก่สังคม และองค์ประกอบที่ ๖ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ องค์การสหประชาชาติ ในคราวประชุม ครั้งที่ ๕๔ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติ และกำหนดให้มีการจัดกิจกรรมในวันดังกล่าว ณ สำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขา ในเดือนพฤษภาคมของทุกปี ประเทศไทยโดยคณะสงฆ์ รัฐบาล และประชาชน จึงได้จัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมฉลองในวันดังกล่าวมาตลอดทุกปีมิได้ขาดจนถึงปัจจุบันทั้งระดับประเทศและระดับท้องถิ่น จนถึงระดับนานาชาติ โดยในระดับนานาชาตินั้นคณะกรรมการจัดงานนานาชาติ (IOC) ซึ่งได้ประชุมกันในวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๑ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยเห็นพ้องต้องกันให้จัดตั้งสมาคมสภาสากล วันวิสาขบูชาโลก (ICDV) เพื่อดำเนินการจัดงานเฉลิมฉลองให้มีเอกภาพและมีประสิทธิภาพ

สำหรับในการจัดงานวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ ๑๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ นี้ คณะกรรมการจัดงาน วิสาขบูชาโลก ในคราวประชุมเมื่อวันที่ ๒๙ - ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้มีฉันทามติร่วมกันในการจัดงานวันวิสาขบูชาโลก ครั้ง ๑๐ ขึ้นในระหว่างวันที่ ๒๑ - ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๖ ในหัวข้อ “การศึกษากับความเป็นพลเมืองโลก: มุมมองพระพุทธศาสนา” (Education and Global Citizenship: A Buddhist Perspective) เพื่อดำเนินกิจกรรมเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก อีกทั้งเนื่องในวโรกาสงานฉลองพระชันษา ๑๐๐ ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก โดยกำหนดเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ๑,๕๐๐ รูป/คน จาก ๘๕ ประเทศ ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร เพื่อให้สอดรับกับการที่คณะมนตรีเศรษฐกิจ และสังคมแห่งสหประชาชาติได้รับรองสถานะสมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (International Council for the Day of Vesak: ICDV) เป็นองค์กรที่ปรึกษาพิเศษ (Special Consultative Status) ขององค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วัตถุประสงค์

๖.๑ เพื่อเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก
๖.๒ เพื่อฉลองพระชันษา ๑๐๐ ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
๖.๓ เพื่อสร้างความร่วมมืออันดีระหว่างชุมชนชาวพุทธและองค์กรชาวพุทธตั้งแต่ระดับประเทศถึงนานาชาติตามนโยบายของรัฐบาล
๖.๔ เพื่อร่วมกันสร้างทางเลือกในการประยุกต์ใช้พระพุทธศาสนาเพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษยชาติ
๖.๕ เพื่อร่วมกันประกาศหลักการทางพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นอารยธรรมสำคัญของโลกผ่านกิจกรรมทางวิชาการ ศาสนพิธีและวิถีชีวิตชุมชน

ลักษณะกิจกรรม

๗.๑ การชุมนุมร่วมกันของผู้นำชาวพุทธ และนักวิชาการ ๘๕ ประเทศ
๗.๒ การแสดงสุนทรพจน์ เรื่อง “การศึกษากับความเป็นพลเมืองโลก: มุมมองพระพุทธศาสนา” (Education and Global Citizenship: A Buddhist Perspective)
๗.๓ การอ่านสุนทรพจน์ของบุคคลสำคัญและผู้นำชาวพุทธ
๗.๔ การเข้าร่วมงานของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร และผู้แทนฯ
๗.๕ การเข้าร่วมงานของนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และทุตานุฑูต จากประเทศไทย และต่างประเทศ
๗.๖ การสัมมนาทางวิชาการนานาชาติ
๗.๗ การเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตภาวนาถวายพระพรชัยมงคลและถวายพระราชกุศล ครบรอบพระชันษา ๑๐๐ ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
๗.๘ การร่วมชุมนุมของผู้นำชาวพุทธ นักวิชาการ และบุคคลสำคัญที่สหประชาชาติ และการประกาศปฏิญญากรุงเทพ
๗.๙ การประกอบพิธีธรรมยาตราและเวียนเทียนที่พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

เป้าหมายผลผลิต

๘.๑ เป้าหมายเชิงคุณภาพ

ได้ร่วมเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากล สหประชาชาติ พร้อมกับสำนักงานใหญ่ สหประชาชาติ และฉลองพระชันษา ๑๐๐ ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก อันแสดงถึงความร่วมมืออันดีของชุมชนชาวพุทธ และองค์กรชาวพุทธทั่วโลกตั้งแต่ระดับประเทศถึงนานาชาติตามนโยบายของรัฐบาล ได้ร่วมกันสร้างทางเลือกในการประยุกต์ใช้พระพุทธธรรมในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ และ ได้ร่วมกันประกาศหลักการทางพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นอารยธรรมสำคัญของโลกผ่านกิจกรรมทางวิชาการ ศาสนพิธีและวิถีชีวิตชุมชนไปสู่เวทีโลก

๘.๒ เป้าหมายเชิงปริมาณ

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมและประชุมวิชาการพระพุทธศาสนานานาชาติ จาก ๘๕ ประเทศจำนวน ๑,๕๐๐ รูป/คนดังนี้
๘.๒.๑ ผู้นำ นักวิชาการ และนักปราชญ์ด้านพระพุทธศาสนา ทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานจากต่างประเทศ ๒๐๐ รูป/คน
๘.๒.๒ ผู้เข้าร่วมประชุมจากต่างประเทศ ๕๐๐ รูป/คน
๘.๒.๓ ผู้แทนมหาเถรสมาคม พระเถรานุเถระ เจ้าคณะพระสังฆาธิการ ๑๐๐ รูป/คน
๘.๒.๔ คณะรัฐมนตรี ทูตานุทูต นักวิชาการ ด้านพระพุทธศาสนา และผู้แทนองค์กรชาวพุทธ จากประเทศไทย ๑๐๐ รูป/คน
๘.๒.๕ พุทธศาสนิกชนจากประเทศไทย ๓๐๐ รูป/คน
๘.๒.๖ สื่อมวลชนจากประเทศไทยและต่างประเทศ ๑๐๐ รูป/คน
๘.๒.๗ ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่นิสิตและนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ๒๐๐ รูป/คน

๘.๓ เป้าหมายเชิงเวลา

ระยะเวลาในการจัดงานจำนวน ๒ วัน ตั้งแต่ วันที่ ๒๑ – ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖

วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
- พิธีเปิดการประชุมและกิจกรรมพระพุทธศาสนานานาชาติ
การสัมมนาทางวิชาการระดับนานาชาติ เรื่อง“การศึกษากับความเป็นพลเมืองโลก: มุมมองพระพุทธศาสนา” (Education and Global Citizenship: A Buddhist Perspective) ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร

วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
- เจริญพระพุทธมนต์เพื่อสันติภาพโลก ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร
- สุนทรพจน์และสาส์นจากผู้นำชาวพุทธสุนทรพจน์และสาส์นจากผู้นำชาวพุทธ
- ถ่ายภาพหมู่
- การฉลองพระชันษา ๑๐๐ ปี สมเด็จพระญาญสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
- พิธีปิดการฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก
- เดินทางไปร่วมประกอบพิธีธรรมยาตราและเวียนเทียน ณ ลานหน้าองค์พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
- ร่วมเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตภาวนา ถวายพระพรชัยมงคลและถวายพระราชกุศล ครบรอบพระชันษา ๑๐๐ ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

๙. แหล่งที่มาของงบประมาณ
๙.๑ รัฐบาลไทย
๙.๒ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๙.๓ สมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (ICDV)
๙.๔ หน่วยงานภาคเอกชนและผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป

๑๐. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑๐.๑ ได้ร่วมเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากล สหประชาชาติ พร้อมกับสำนักงานใหญ่ สหประชาชาติ และฉลองพระชันษา ๑๐๐ ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
๑๐.๒ มีความร่วมมืออันดีของชุมชนชาวพุทธและองค์กรชาวพุทธทั่วโลกตั้งแต่ระดับประเทศ ถึงนานาชาติตามนโยบายของรัฐบาล
๑๐.๓ ได้ร่วมกันสร้างทางเลือกในการประยุกต์ใช้พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ
๑๐.๔ ได้ร่วมกันประกาศหลักการทางพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นอารยธรรมสำคัญของโลกผ่านกิจกรรมทางวิชาการ ศาสนพิธีและวิถีชีวิตชุมชนไปสู่เวทีโลก