เกี่ยวกับ UNDV
การจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาของ การจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก
ผู้บริหาร สสวล.
International Council of the United Nations Day of Vesak
ผู้บริหาร สมพน.
International Association of Buddhist Universities
สำนักงาน
สำนักงาน สสวล. / สมพน.
โครงการ
คำประกาศปฎิญญากรุงเทพมหานคร
ความหมายของตราสัญญลักษณ์
เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง พุทธชยันตี : ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ขององค์พระพุทธเจ้า

องค์ปาฐกถาพิเศษ
พระภาวนาวิเทศ (หลวงพ่อเขมธัมโม)
วัดป่าสันติธรรม เมืองวอริค
มณฑลวอริคเชียร์ ประเทศอังกฤษ


Guest Speaker
Ven Sheng Kai
ดร. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
Symposium Speakers
Rev.Noriaki Kunitomo
ศาสตราจารย์วันชัย วัฒนศัพท์
Prof. Kamaleswar Bhattacharya
Dr. Phil Tan
Prof. Dr. Donald K Swearer
ดร. ตัม ดึ๊ก
  ดร.จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์
Prof. Dr. Keown
พระหยวน ฉี
ศาสตราจารย์ ดร. พระคำหมาย ธัมมสามิ
ศาสตราจารย์สุมานะปาละ กัลมานโกฏะ
Dr Sarah Shaw

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)
แผนผัง มจร
แผนผัง ห้องประชุมและสถานที่จัดงานใน มจร
องค์การสหประชาชาติ (UN)
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
(วัดพระแก้ว)
พุทธมณฑล
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
อยุธยา เมืองมรดกโลก
การบินไทย
โรงแรม & สิ่งอำนวยความสะดวก
Maps of Venues

ข่าวสารถึงอาสาสมัคร
ตำแหน่งที่ต้องการ
ร่วมสมัครเป็นอาสาสมัคร
คำถาม คำตอบ
นโยบายของอาสาสมัคร

สัญญาณถ่ายทอดสด
Press Released
วิดิทัศน์
รูปภาพ
ข้อมูลรูปภาพ
หนังสือ
เพลง
นิทรรศการ
Cultural Show

ข้อมูลคณะทำงาน
Story of each Vesak Celebrations
การเสวนาทางวิชาการ / วิทยากร
History of UN Day of Vesak Celebrations
กำหนดการ
INTERNATIONAL COUNCIL OF UNITED DAYS OF VESAK Executive Council Meeting of ICUNDV
บทความวิชาการ
The International Association of Buddhist
สถานที่จัดกิจกรรม
Officers and Location
ข่าวสาร
The 84th Birthday Anniversary of His Majestythe King & International Celebration on the Occasion of United Nations Day


Symbols & Meaning
For Buddhajayanti: The Celebration of 2600 Years of the Buddha's Enlightenment

Click to Share this Article
เกี่ยวกับ UNDV
การจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก

ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาของ การจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก

ผู้บริหาร สสวล.
International Council of the United Nations Day of Vesak

ผู้บริหาร สมพน.
International Association of Buddhist Universities

สำนักงาน
สำนักงาน สสวล. / สมพน.

โครงการ

คำประกาศปฎิญญากรุงเทพมหานคร

ความหมายของตราสัญญลักษณ์
เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง พุทธชยันตี : ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ขององค์พระพุทธเจ้า



ใบโพธิ์
หมายถึง การตรัสรู้สัจธรรมความจริงของพระพุทธเจ้า

ธรรมจักรกลางผืนธงมี ๑๒ ซี่
หมายถึง หลักธรรมคำสั่งสอนครั้งแรกของพระพุทธเจ้าประกอบด้วยอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และ มรรค มีการหมุนวน ๓ รอบ ซึ่งควรทำความรู้ความเข้าใจ
(รอบที่ ๑ - สัจญาณ) แล้วลงมือปฏิบัติ
(รอบที่ ๒ - กิจญาณ) เพื่อการได้รับผลแห่งการปฏิบัติ
(รอบที่ ๓ - กตญาณ) รวมเป็นอาการ ๑๒

ผืนธงฉัพพรรณรังสีรองธรรมจักร
หมายถึง แถบสี ๖ สี แห่งพระพุทธองค์ที่ปรากฏขึ้นเมื่อทรงตรัสรู้แล้ว ประกอบด้วยสีขาว เหลือง แดง เขียว ชมพู และ เลื่อมพราย

สีเขียวแห่งใบโพธิ์
หมายถึง ความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งพระธรรมคำสอน

กนกลายไทยชูช่อฟ้า
หมายถึง ผืนแผ่นดินไทยที่รุ่งเรืองด้วยอารยธรรมโดยชนชาติไทยที่ได้น้อมรับ ปฏิบัติ เผยแผ่และเชิดชูพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า อำนวยประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติอยู่คู่ผืนแผ่นดินไทยชั่วกัลปาวสาน

ความหมายของพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้


เป็นชื่อที่กำหนดโดยมหาเถรสมาคม
หมายถึง การเฉลิมฉลองของชาวพุทธ ในวาระครบรอบ ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
คำว่า ชยันตี แปลว่า การเฉลิมฉลองชัยชนะ
คำว่า พุทธะ แปลว่า การรู้ ตื่น และ เบิกบาน
คำว่า พุทธชยันตี แปลว่า การเฉลิมฉลองของชาวพุทธ ในชัยชนะของพระพุทธเจ้าที่มีเหนือกิเลสและมารทั้งปวงด้วยพระองค์เองจนบรรลุเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น และ ผู้เบิกบานด้วยธรรม

พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ขณะพระชนมายุ ๓๕ พรรษา แล้วเมตตาสั่งสอนเผยแผ่จนเสด็จดับขันธปรินิพพานเมื่อมีพระชนมายุ ๘๐ พรรษาแล้วจึงเริ่มนับ พ.ศ. ๑ บัดนี้ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ บวก ๔๕ ปีที่ทรงสั่งสอนเผยแผ่พระพุทธศาสนาหลังตรัสรู้ จึงครบ ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ เกิดพระพุทธศาสนา มีพระรัตนตรัยครบองค์ทั้งพระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์แต่นั้นมาควรที่พุทธศาสนิกชนจะได้น้อมนำแบบอย่างแห่งการตรัสรู้ของพระองค์ มาปฏิบัติบูชาด้วยการเจริญใน ทาน ศีล สมาธิภาวนา และ ปัญญา ตามแบบอย่างและคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อการเอาชนะกิเลสและมารทั้งปวง ทั้งจากภายในตนเองและที่รบกวนจากภายนอกทั้งปวง

ความเป็นมา
มหาธัมมาภิสมัย ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า


ปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ รัฐบาลไทย ได้ประกาศให้เป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองพุทธชยันตี อย่างยิ่งใหญ่ตลอดทั้งปี โดยเน้นหนักในด้านการปฏิบัติบูชา และการมีส่วนร่วมของประชาชน ตั้งแต่ระดับครอบครัว ไปจนถึงระดับชาติ ให้ประชาชนได้ปฏิบัติตนตามวิถีชาวพุทธอย่างแท้จริง อันจะทำให้เกิดความมั่นคง แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ อย่างยั่งยืน

การฉลองพุทธชยันตี เป็นเทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา ใช้เรียกการจัดกิจกรรมในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุทธเจ้า เช่น ฉลองครบรอบ ๒,๕๐๐ ปี แห่งการปรินิพพาน หรือ ฉลองครบรอบ ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ โดยอาจใช้ชื่อต่างกันไปบ้าง ในแต่ละประเทศ เช่น ศรีสัมพุทธชยันตี สัมพุทธชยันตี แต่ทั้งหมด ก็คือ การจัดกิจกรรมในปีที่ครบรอบวาระสำคัญขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

เมื่อวาระสำคัญเวียนมาบรรจบอีกศตวรรษหนึ่ง ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา จึงจัดฉลองกันโดยทั่วไป เรียกว่าฉลอง "พุทธชยันตี" เช่น ที่เคยฉลองครบรอบ ๒๕ พุทธศตวรรษ หรือ พ.ศ. ๒๕๐๐ มาแล้ว ในครั้งนั้น กำหนดนับวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จดับขันธปรินิพพาน หรือ พ.ศ. ๑ เป็นวันแห่งการฉลองพุทธชยันตี

แต่ครั้งนี้ นับวันที่พระบรมศาสดาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวียนมาบรรจบครับรอบ ๒๖ พุทธศตวรรษ ๒๖๐๐ ปี กำหนดให้เป็นวันฉลองพุทธชยันตี

"พุทธชยันตี" หมายถึง ชัยชนะของพระพุทธเจ้า ที่มีต่อหมู่มารและกิเลสทั้งปวงอย่างสิ้นเชิง เพราะพระองค์ ทรงตรัสรู้ในวันวิสาขบูชา เมื่อ ๒๖๐๐ปี ล่วงแล้ว ทำให้พระนามว่า "สัมมาสัมพุทธะ" ปรากฏขึ้นในโลก เป็นจุดเริ่มต้นแห่งคำสอนของพระพุทธศาสนา อันเกิดจากปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทำให้พุทธศาสนิกชน ได้มีพระธรรมเป็นหลักแห่งการดำเนินชีวิต

วันฉลองที่สำคัญนี้เรียกเป็นสากลว่า Sambuddha Jayanti ๒๖๐๐ ตรงกับภาษาไทยว่า "สัมพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี"
เฉพาะประเทศไทย มหาเถรสมาคม ได้มีมติให้ เรียกงานฉลองนี้ว่า "พุทธชยันตี" ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

โดยที่ประชุมมหาเถรสมาคม ณ พระตำหนักสมเด็๗ฯ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ได้มีมติเห็นชอบให้มีกรดำเนินการจัดงานฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า โดยให้เรียกชื่อว่า งานฉลอง "พุทธชยันตี" ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ให้เสนอเรื่องไปยังรัฐบาลเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการจัดงาน พร้อมทั้งให้มีการตั้งคณะกรรมการอำนวยการ โดยมีมหาเถรสมาคม เป็นที่ปรึกษา มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ของบประมาณในการดำเนินการสนับสนุนจากรัฐบาล

การจัดงานแบ่งเป็น ๓ ลักษณะ คือ
๑. ด้านการปฏิบัติบูชา มุ่งส่งเสริมการปฏิบัติธรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนตั้งแต่ระดับครอบครัวและชุมชน โดยใช้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรม
๒. ด้านวิชาการ เน้นการประชุมสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับพุทธประวัติ หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา โดยให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ดำเนินการ
๓. ด้านกิจกรรมศิลปวัฒนธรรม มอบให้กระทรวงวัฒนธรรมเป็นหน่วยงานหลัก ในการดำเนินงาน

การจัดกิจการทั้งหมด มุ่งเน้นให้เกิดการศึกษา การเผยแผ่ การปฏิบัติบูชา และการมีส่วนร่วมขององค์กรทุกภาคส่วนของประชาชน พร้อมทั้งประสานการจัดกิจกรรมประชุมสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในระดับนานาชาติ เพื่อเป็นเวทีถ่ายทอดความรู้เกี่ยวพระพุทธศาสนาและเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้เรียนรู้ และเข้าใจหลักธรรมและเรื่องราวในพระพุทธศาสนามากขึ้น ทั้งในประเทศ และนานาชาติ